โรคกระดูกพรุนเกิดจากอะไร พร้อมแนวทางการป้องกันโรค
บ่อยครั้งที่เราได้ข่าวเรื่องผู้สูงอายุหกล้มแล้วกระดูกหัก บางครั้งถึงขนาดเป็นอัมพฤกษ์ไปเลยก็มี สาเหตุก็เนื่องจาก คนเหล่านั้นมีสภาพกระดูกที่เปราะบาง เมื่อมีการกระแทกอย่างแรงนิดหน่อย กระดูกก็หักได้ แต่ไม่ใช่เฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น คนในวัยหนุ่มสาว หากมีเนื้อหรือมวลกระดูกที่ไม่มีความหนาแน่นเพียงพอ เนื่องจากเผชิญอยู่กับโรคกระดูกพรุนก็มีสมรรถภาพความทนทานของกระดูกไม่ต่างจากคนสูงอายุเช่นกัน โรคกระดูกพรุนนั้นนับเป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิต เราจึงควรเรียนรู้เพื่อหาทางป้องกันตัวเองไว้ก่อนดีกว่า
กระดูกพรุนเป็นอย่างไร
การจะบอกว่าเป็นโรคกระดูกพรุน คือมวลกระดูกไม่มีความหนาแน่นนั้น วัดกันที่มวลกระดูก หากมีค่ามวลกระดูกต่ำกว่ามาตรฐาน คือต่ำกว่าค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD – Standard deviation) 2.5 เอสดีขึ้นไป นับว่าเป็นกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุนมักเกิดกับกระดูกส่วนไหน
โรคกระดูกพรุนมักเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากผู้หญิงต้องทำหน้าที่ตั้งครรภ์ และมีฮอร์โมนเอสโตรเจน เมื่อถึงวัยทองคือ ช่วง 45 ปีขึ้นไป จะประสบปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมน และมีแนวโน้มเป็นโรคกระดูกพรุนได้มากขึ้น บริเวณที่มักเป็นคือ สันหลังส่วนเอว กระดูกสะโพก ปลายแขน ต้นแขน จึงไม่แปลกที่เวลาหกล้มแล้วกระดูกหัก ถึงเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ได้
กระดูกพรุนเกิดจากสาเหตุอะไร
เกิดจากกระดูกมีความเสื่อมเพราะได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ กระดูกที่มีการสร้างและสลายอยู่โดยธรรมชาติจึงถูกทำลายมากกว่าการสร้าง และอาจมีสาเหตุอื่น เช่น กรรมพันธุ์ โรคระบบต่อมไทรอยด์ ต่อมลูกหมาก เบาหวาน ตับ รูมาตอยด์ ก็ส่งผลให้ร่างกายขาดแร่ธาตุที่บำรุงกระดูกได้
กระดูกพรุนรักษาได้หรือไม่
มีโอกาสรักษาให้หายได้เหมือนกัน แต่ต้องเป็นกรณีที่ตรวจพบตั้งแต่เริ่มเป็นใหม่ๆ
กระดูกพรุนรักษาอย่างไร
- ในรายที่เริ่มมีอาการใหม่ๆ อยู่ในเกณฑ์รักษาให้หายได้ แพทย์จะให้รับประทานแคลเซียมคาร์บอเนตเพื่อชดเชยส่วนที่ขาดหายไปอาจเป็นวันละ 1000-1500 มิลลิกรัม
ควรดื่มน้ำเปล่าและผักผลไม้เพิ่มขึ้น บางครั้งอาจต้องเพิ่มวิตามินดี ที่ช่วยให้กระดูกแข็งแรง
- ฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง อาจเป็นยาสร้างกระดูกประเภทพาราไทรอยด์ฮอร์โมน
- เพิ่มการออกกำลังกาย เพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น ช่วยกระดูกในการรับน้ำหนัก
ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามคำสั่งแพทย์
วิธีป้องกันโรคกระดูกพรุน
- กินอาหารที่มีประโยชน์ในการบำรุงกระดูกให้แข็งแรงตั้งแต่เยาว์วัย ได้แก่อาหารประเภท นม เนย กุ้งแห้ง ปลา และผักสีเขียว
- อย่ากลัวแดดจนเกินไป เพราะในแสงแดดอ่อนๆ นั้นมีวิตามินดีที่ทำให้กระดูกแข็งแรง
- ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ได้กำลังกล้ามเนื้อ และเพิ่มความหนาแน่นให้กระดูก 4. ดูแลให้น้ำหนักสมดุลกับส่วนสูง จะได้ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูก
- เลี่ยงการดื่มน้ำชา กาแฟ น้ำอัดลม ฯลฯ ที่ทำให้เกิดความเสี่ยง
- ไม่กินเนื้อสัตว์มากเกินไป
- งดอาหารรสเค็มจัด