เส้นเลือดสมองตีบคืออะไร ป้องกันได้อย่างไร

0
811

เส้นเลือดสมองตีบคืออะไร ป้องกันได้อย่างไร

อาการเส้นเลือดสมองตีบหรือจะเรียกว่าโรคหลอดเลือดสมอง เป็นภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากในเส้นเลือดที่ทำหน้าที่นำเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนต่างๆมีการอุดตันเกิดขึ้นโดยเฉพาะการอุดตันที่เกิดขึ้นจากไขมัน เมื่อมีการสะสมของตระกันไขมันมากๆจะทำให้ทางเดินในเส้นเลือดมันแคบลง ทำให้เลือดไม่สามารถไหลไปเลี้ยงสมองได้ส่งผลให้สมองขาดเลือด จนกระทั่งอยู่ในภาวะที่ทำงานไม่ได้กลายเป็นโรคเส้นเลือดสมองตีบตัน โดยอาการที่พบบ่อยเมื่อเกิดโรคนี้ขึ้นก็คือ อาการตาพร่ามัวมองเห็นภาพซ้อน มีอาการชาครึ่งซีก มีอาการอ่อนแรงและหน้าเบี้ยว อาการแขนขาอ่อนแรง พูดลำบากหรือฟังไม่เข้าใจ อาการวิงเวียนศีรษะหรือการทรงตัวได้ไม่ดี มีการเดินเซในบางครั้ง กลืนอาหารลำบาก มีอาการปวดศีรษะร่วมด้วยและอาจจะปวดศีรษะรุนแรงขึ้นในบางครั้ง อาการต่างๆเหล่านี้จะแสดงออกมาอย่างใดอย่างหนึ่งในช่วงใดช่วงหนึ่งหรืออาจจะมีอาการหลายๆอย่างพร้อมกันได้ โดยที่เส้นเลือดสมองตีบนี้มักจะพบในกลุ่มวัยกลางคนขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ค่อนข้างจะดำเนินชีวิตแบบเร่งรีบ รูปแบบการรับประทานอาหารแบบ Fast food และเป็นช่วงวัยที่กำลังสร้างฐานะต้องพบเจอกับเรื่องราวที่ทำให้เกิดอาการเครียดมากมาย

สาเหตุที่ทำให้เกิดเส้นเลือดสมองตีบ

อย่างที่บอกไปในตอนต้นว่าโรคหลอดเลือดสมองส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการมีไขมันไปเกาะผนังหลอดเลือดด้านในหลอดเลือดสมอง หรืออาจเกิดจากการมีลิ่มเลือดขนาดเล็กที่ลิ้นหัวใจและผนังหัวใจหลุดลอยตามกระแสเลือดไปอุดตันหลอดเลือดในสมอง ส่วนใหญ่อาการเหล่านี้มักจะพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้ป่วยหัวใจโต ผู้ป่วยลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว ผู้ป่วยผนังหัวใจรั่ว หรืออาจจะเกิดขึ้นได้จากการฉีดของผนังหลอดเลือดด้านในทำให้เกิดเส้นเลือดอุดตัน รวมไปถึงกรณีที่เลือกเกิดการแข็งตัวเร็วเกินไปหรือมีเกร็ดเลือดมากเกินไป ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดเส้นเลือดในสมองตีบได้ทั้งนั้น

การป้องกัน

โรคเส้นเลือดในสมองตีบถือว่าเป็นอีกโรคที่เป็นภัยเงียบเนื่องจากไม่ได้เกิดอาการขึ้นแบบฉับพลัน แต่จะต้องใช้เวลานานในการสะสม หรือการก่อตัวของไขมันที่เกาะตามผนังหลอดเลือดจนแสดงอาการต่างๆดังกล่าว ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดคือ การหมั่นตรวจวินิจฉัยเพื่อทราบโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคสมองขาดเลือด ซึ่งทำได้หลายวิธีเช่น การตรวจเม็ดเลือดแดงเพื่อดูความเข้มข้นของเลือด การตรวจการอักเสบของหลอดเลือด การตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือดและไขมันในเลือด รวมไปถึงการเอกซเรย์สมองเพิ่มเติม ซึ่งสามารถทำได้โดยการตรวจสมองด้วยคอมพิวเตอร์เป็นการดูความผิดปกติของหลอดเลือดสมองว่ามีการแตกหรือติดตันหรือไม่ การตรวจสมองด้วยสนามแม่เหล็ก เพื่อเป็นการเอกซเรย์สมอง และตรวจพบการติดตั้งของหลอดเลือดสมองได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ การทำอัลตราซาวด์หลอดเลือดคอเพื่อตรวจหาภาวะความอุดตันของหลอดเลือดบริเวณคอ ซึ่งหลอดเลือดบริเวณนี้จะเป็นหลอดเลือดที่สำคัญทำหน้าที่นำเลือดไปเลี้ยงสมองโดยตรง