กลูโคซามีน glucosamine คืออะไรมีประโยชน์อย่างไร
“กลูโคซามีน (glucosamine)” ชื่อของสารชนิดนี้ สำหรับคนที่ชีวิตยังไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง คงยังไม่สนใจจะเรียนรู้ แต่หากบอกว่า นี่คือ สารตั้งต้นในสารทั้งหลายที่เป็นองค์ประกอบของเนื้อเยื่อทุกประเภทในร่างกายคนเรา และที่สำคัญเป็นสารใน “กระดูกอ่อน” มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของกระดูกข้อต่อทุกส่วนในร่างกายคนเรา เป็นสารที่คนเป็นโรคกระดูกเสื่อมควรทำความรู้จัก คนที่ยังไม่มีปัญหาเรื่องข้อกระดูกก็ควรทำความรู้จักเอาไว้แต่เนิ่นๆ มารู้จักสารสำคัญของชีวิตตัวนี้กันเถอะ
กลูโคซามีน glucosamine คืออะไร
กลูโคซามีน หากอธิบายเป็นเชิงวิชาการคงเข้าใจยาก ลักษณะของกลูโคซามีนเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharide) ร่างกายจะสร้างขึ้นเองตามธรรมชาติ เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเยื่อเกือบทั้งหมดที่มีในร่างกายคนเรา มีมากในกระดูกอ่อน เน้นที่ข้อต่อ ทำหน้าที่ช่วยให้กระดูกอ่อนของเรามีความยืดหยุ่นเพื่อที่จะทำให้ข้อต่อต่างๆ เคลื่อนไหวได้คล่องตัว เท่านี้ก็น่าจะพอนึกภาพได้ว่า กลูโคซามีนอยู่ตรงไหน สำคัญต่อคนเราอย่างไร
กลูโคซามีนในท้องตลาด
กลูโคซามีนที่ขายในท้องตลาดนั้น จัดว่าเป็นยาอันตราย แม้อยู่ในรูปอาหารเสริมก็ยังต้องขึ้นทะเบียน “ยาอันตราย” เพราะส่วนใหญ่จะขายเพื่อใช้ในการรักษาพวกโรคเกี่ยวกับ “ข้อเสื่อม” จึงต้องมีใบรับรองจากแพทย์ว่าสามารถใช้ได้จริง และใบรับรองจากอย. ด้วย
ประโยชน์ของ กลูโคซามีน
เนื่องจากในการทำงานของข้อต่อของคนเรา มีองค์ประกอบอื่นเกี่ยวข้องคือ กระดูกอ่อนและน้ำเลี้ยงไขข้อ ช่วยหล่อเลี้ยงข้อต่อเอาไว้ เพื่อลดการเสียดสี แรงกระแทก ขณะเคลื่อนไหว แต่เมื่อใช้งานนานไป กลูโคซามีนลดลง น้ำเลี้ยงลดลง เนื้อเยื่อบริเวณข้อจะเสื่อมเสียหาย ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดข้อต่อต่างๆ ได้ แม้กลูโคซามีน ไม่ใช่ยาหลักในการรักษาโรค “ข้อเสื่อม” แต่มีส่วนเกี่ยวข้อง ดังนี้
- ช่วยลดอาการปวดสำหรับคนที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม กลูโคซามีนที่เพิ่มเติมเข้าไปผ่านยาหรืออาหารเสริมตามคำแนะนำแพทย์ จึงเข้าไปช่วยฟื้นฟูการทำงานของกระดูกอ่อนและน้ำเลี้ยงไขข้อให้กลับมาทำหน้าที่เหมือนเดิม จึงเสมือนช่วยแก้ไขลดความเจ็บปวด
- ช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อบริเวณที่มีอาการ “ข้อเสื่อม” เนื่องจากการเสียดสีทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นเสื่อมไปด้วย กลูโคซามีนจะเข้าไปช่วยทำให้เนื้อเยื่อที่เสียหายได้รับการฟื้นฟูให้กลับดังเดิม
- กลูโคซามีน ช่วยทำให้มีการผลิตน้ำเลี้ยงไขข้อได้ดีขึ้น เพราะเข้าไปเพิ่มสารตั้งต้น
ทั้งสามอย่าง ข้อต่อ น้ำเลี้ยงไขข้อ เนื้อเยื่อบริเวณข้อต่อ สามสิ่งนี้ต้องทำงานประสานกัน และมีกลูโคซามีนเป็นเสมือนตัวเชื่อม