ต้อหินเกิดจากอะไร พร้อมวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดต้อหิน
ตาเป็นต้อ เป็นความเสื่อมของเส้นประสาทตา ไม่ว่าจะเป็น ต้อลม หรือต้อหินก็ตาม และเมื่อตาเป็นต้อแล้วจะทำให้ประสิทธิภาพในการมองลดต่ำลง หรือบางคนต้องสูญเสียการมองในที่สุด ดังนั้น จึงไม่ควรมองผ่านโรคต้อในนัยน์ตา มาทำความรู้จักต้อหิน เพื่อหาทางป้องกันและรักษาให้ถูกวิธีก่อนที่จะต้องสูญเสียการมองไป
ต้อหินเกิดขึ้นได้อย่างไร
เกิดจากเส้นประสาทในตาถูกทำลายด้วยสาเหตุต่างๆ ตามประเภทของต้อหิน คือ
- ต้อหินมุมเปิด ประสาทตาถูกทำลายเนื่องจากช่องระบายน้ำออกจากตามีความเสื่อมจนไหลเวียนไม่ได้และเกิดความดันในลูกตา
- ต้อหินมุมปิด ประสาทตาถูกทำลายเนื่องจากการอุดตันของทางผ่านน้ำในตาแบบฉับพลัน
- ต้อหินจากกรรมพันธุ์ เป็นตั้งแต่เด็ก โอกาสทำให้ตาบอดได้
- ต้อหินที่เกิดเป็นโรคแทรกซ้อน หรือการบาดเจ็บของดวงตา และพัฒนาต่อจนกลายเป็นต้อหิน เช่น เบาหวาน หรือเนื้องอกที่ตา เป็นต้น
เหตุที่ทำให้เกิดเป็นต้อหิน
- เกิดจากพันธุกรรม
- เกิดตามความเสื่อมของวัย เช่น อายุ 40 ปีขึ้นไป ดวงตาจะมีแก้วตาที่หนาขึ้น ช่องด้านหน้าลูกตาจะแคบลงตามอายุ ทำให้มีความเสี่ยงที่อาจทำให้ความดันน้ำในลูกตาขาดสมดุลและเป็นต้อหินได้
- เป็นธรรมชาติของลูกตาที่คนทางเอเชียจะมีมุมระบายน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตาแคบอยู่แล้ว จึงทำให้มีโอกาสอุดตันและเป็นต้อหินได้ง่าย
- เมื่ออายุมากขึ้น ธรรมชาติจะมีสายตายาว ทำให้ช่องด้านหน้าลูกตาแคบลง
- อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับลูกตา หรือโรคที่เกิดขึ้น ทำให้เป็นต้อหินแทรกซ้อนได้
การป้องกันไม่ให้เกิดโรคต้อหิน
ทำได้ในลักษณะลดความเสี่ยงเท่านั้น
- โรคต้อหินจากพันธุกรรม ไม่สามารถป้องกันได้
- ตรวจความดันในลูกตาเมื่อมีอาการผิดปกติ เช่น การปวดลูกตา ตาพร่า เพราะประสาทตาอาจเริ่มเสื่อมจะได้รักษาได้ทันท่วงทีก่อนประสาทตาถูกทำลายกลายเป็นต้อหิน
- ดูแลสุขภาพตัวเองให้แข็งแรง เพื่อไม่ให้เป็นโรคที่อาจส่งผลต่อดวงตาแทรกซ้อน เช่น โรคเบาหวาน
- รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ บำรุงดวงตา
- ออกกำลังกายให้เหมาะกับตัวเอง ไม่ไปเพิ่มความดันในดวงตา
- เลือกนอนบนหมอนที่ไม่สูงจนเกินไป คือ ไม่ทำมุมเกิน 20 องศา เพราะมีส่วนทำให้ความดันในลูกตาสูงขึ้น
- ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะมีผลเพิ่มความดันในดวงตา
ส่วนการรักษามีทั้งกินยา หยอดตา ผ่าตัด ตามแต่แพทย์จะพิจารณา