ตับแข็ง (Cirrhosis) คืออะไร

0
811

ตับแข็ง (Cirrhosis) คืออะไร

ภาวะตับแข็ง ถือว่าเป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับตับ ซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญของมนุษย์ โดยที่สาเหตุของการเกิดภาวะตับแข็งนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุและเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะทำให้ตับได้รับความเสียหายและเป็นแผลอย่างถาวร ลักษณะของแผลที่เกิดขึ้นในต่ำจะมีเนื้อเยื่อพังผืดเกิดขึ้นในเนื้อตับ ส่งผลทำให้การทำงานของตับลดน้อยลง จะไม่สามารถผลิตโปรตีนได้ตามปกติและไม่สามารถเก็บสะสมสารอาหารที่สำคัญรวมถึงแร่ธาตุต่างๆได้ การทำลายสารพิษจะลดน้อยลง รวมถึงจะทำการปิดกั้นการไหลเวียนของเลือดที่ไหลผ่านต่ำไปในส่วนต่างๆของร่างกายด้วย ดังนั้นภาวะตับแข็งจึงมีผลกระทบโดยรวมต่อร่างกายทั้งหมด ไม่ได้ว่าใครก็ตามที่มีภาวะนี้เกิดขึ้นสภาวะการทำงานต่างๆ ของระบบในร่างกายก็จะค่อยๆเสื่อมลงไปด้วยตามลำดับ


ภาวะตับแข็งเกิดจากสาเหตุใดบ้าง

  • ภาวะตับแข็งที่เกิดขึ้นจากโรคต่างๆโดยเฉพาะโรคพิษสุราเรื้อรัง เนื่องจากการได้รับแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน โรคไวรัสตับอักเสบ b c และ D โรคตับอักเสบจากภูมิต้านทานตนเอง โรคเนื้อเยื่อผสมธาตุเหล็กผิดปกติ โรควิลสัน ซึ่งเกิดขึ้นจากการสะสมทองแดงมากเกินไปในตับ
  • ภาวะตับแข็งที่เกิดขึ้นได้จากภาวะต่างๆ เช่น ท่อน้ำดีอุดตัน ทำให้น้ำดีที่ไหลย้อนกลับไปที่ตับส่งผลไปทำลายเนื้อเยื่อตับเป็นตับแข็งได้เอง ภาวะไขมันพอกตับจะทำให้เกิดตับอักเสบเรื้อรังจนอาจจะกลายเป็นภาวะตับแข็งตามมา ภาวะหัวใจล้มเหลวหลายครั้งติดต่อกัน
  • ตับแข็งเกิดขึ้นได้จากการรับประทานยาบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานานรวมถึงการได้รับสารพิษบางชนิดอีกด้วย

ผู้ที่มีภาวะตับแข็งจะมีอาการอย่างไร

อาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีภาวะตับแข็ง ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นอาการเหนื่อย น้อยมากแตกต่างกันไปหรือในบางกรณีอาจจะไม่มีอาการเหล่านี้เลย สำหรับผู้ที่มีอาการเหนื่อยจะเกิดขึ้นเนื่องจากการมีภาวะแทรกซ้อนตามระยะของโรค โดยจะมีอาการต่างๆ ที่พบได้ดังนี้

  • อาการอ่อนเพลียเหนื่อยล้าไม่อยากอาหารบางครั้งอาจจะมีอาการคลื่นไส้ และน้ำหนักลด
  • กรณีผู้หญิง ที่มีภาวะตับแข็งอาจจะทำให้ประจำเดือนผิดปกติ สำหรับผู้ชายอาจจะมีเต้านมขยายใหญ่ขึ้นและมีอาการปวดรวมไปถึงสมรรถภาพทางเพศลดลง
  • อาการขาบวมหรือท้องโตขึ้น เนื่องจากมีการผลิตโปรตีนอัลบูมินน้อยลงทำให้มีน้ำผสมในขาหรือท้องมากขึ้น
  • มีอาการดีซ่านหรืออาการตัวเหลืองตาเหลืองซึ่งจะเกิดขึ้นจากการสะสมเม็ดสีของน้ำดี
  • ผู้ที่มีภาวะตับแข็งจะทำให้สารประกอบของน้ำดีถูกฝังอยู่ในผิวหนังจนทำให้มีอาการคันที่ผิวหนังอย่างรุนแรง
  • อาการทางสมองที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น ลืมง่ายและไม่มีสมาธิ เนื่องจากตับไม่สามารถกรองสารพิษออกจากร่างกายได้จึงเริ่มเกิดการสะสมของเสียในเลือด
  • มีเลือดออกอย่างรุนแรงโดยเฉพาะในกระเพาะอาหารส่วนบนหรือ บริเวณหลอดอาหารเนื่องจากการไหลเวียนของเลือดผิดปกติ

สำหรับแนวทางการรักษา แพทย์จะมุ่งเน้นที่การักษาที่สาเหตุ โดยที่ผู้ป่วยต้องให้ความร่วมมือด้วย จึงจะสามารถหยุดภาวะตับแข็งได้