เลี่ยงมะเร็งปากมดลูก ก่อนที่จะสายเกินไป
– สำหรับโรคมะเร็งอีกชนิดหนึ่ง ที่พบได้บ่อย และมีความรุนแรงมากสำหรับผู้หญิง นั่นก็คือมะเร็งปากมดลูก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2555 นี้สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้เปิดเผยว่า ผู้หญิงป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกเป็นอันดับ 4 รองจากมะเร็งเจ้านม มะเร็งลำไส้ และมะเร็งปอด และเมื่อปี พ.ศ. 2558 ก็มีการพบว่า มีผู้หญิงที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก เสียชีวิตเฉลี่ยวันละ 14 คนเลยทีเดียว ซึ่งถือได้ว่าเป็นโรค ที่มีความร้ายแรงอย่างมากเลยทีเดียว
– มะเร็งปากมดลูก ถือได้ว่าเป็นมะเร็ง กลุ่มที่เกิดขึ้นกับผู้หญิง ที่พบได้มากที่สุด สำหรับผู้หญิงชาวไทย ซึ่งส่วนมากจะพบมาก ในผู้หญิงอายุ 35-60 ปี โดยสาเหตุส่วนใหญ่นั้นจะเกิดได้จากเรื่องของไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) โดยจะเป็นไวรัส ที่มีการติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์ อย่างไรก็ตาม HPV มีมากกว่า 40 สายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ ที่ร้ายแรงที่สุด คือสายพันธุ์ 16 และ 18 ที่เมื่อติดแล้ว จะสามารถทำให้เกิดเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกได้
อาการของมะเร็งปากมดลูกนั้น เมื่อติดไวรัส HPV สายพันธุ์ร้ายแรงเข้าไปแล้ว มันจะฝังตัวอยู่ที่บริเวณ ปากมดลูก จากนั้นมันจะเปลี่ยนสภาพกลายเป็นเนื้อร้ายในที่สุด อาการของโรคมะเร็งปากมดลูก แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
– ระยะแรก ในระยะนี้ จะมีอาการตกเลือดถึง 8-9 รายใน 10 ราย โดนอาการตกเลือดนั้นจะตกแบบกระปริบกระปรอย บ้างก็อาจจะมีเลือดออก หลังจากการมีเพศสัมพันธ์ และอาจมีตกขาว หรือน้ำออกมาพร้อมกับเลือดได้เช่นกัน นอกจากนั้นสำหรับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน อาจจะมีเลือดออกไหลมาอย่างหาสาเหตุไม่ได้
– ระยะลุกลาม เป็นระยะที่จะมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ถ้าหากว่าไม่ทำการตรวจรักษาแต่เนิ่นๆ ก็จะเริ่มมีอาการขามบวม ปวดหลังอย่างรุนแรง ปวดบริเวณต้นขา ปวดก้นกบ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้ว ในระยะนี้อาจจะมีอาการปัสสาวะ และอุจจาระนั้นมีเลือดปนออกมาด้วย
– สำหรับการรักษามะเร็งปากมดลูก จะมีการรักษาตามระยะ คือในระยะแรก ที่เริ่มมีอาการนั้น จะรักษาโดยใช้ห่วงไฟฟ้า ตัดปากมดลูกส่วนที่ติดเชื้อออกไป นอกจากนั้นยังอาจจะมีการใช้เลเซอร์ หรือความเย็น จี้ส่วนที่ติดเชื้อ จากนั้นจะมีการติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง
– การรักษาในระยะลุกลาม จะเป็นการรักษาด้วยความระมัดระวัง เพราะมะเร็งปากมดลูกระยะนี้ จะลุกลามได้ง่ายและเร็วมากขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาด้วยการตัดมดลูก หรือต่อมน้ำเหลือง บริเวณเชิงกรานออก อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง ในการกลับมาเป็นมะเร็งอีกสูง จะมีการรักษาด้วยการใช้รังสี และเคมีบำบัด ซึ่งจะส่งผลต่อร่างกายอย่างรุนแรงพอสมควร สำหรับผู้ป่วย
– การป้องกันมะเร็งปากมดลูก จะป้องกันได้โดยการมีเพศสัมพันธ์อย่างป้องกัน และไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ตลอดจนไม่สูบบุหรี่ และไม่ควรใช้ยาคุมกำเนิดต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานๆ