อาการบอกว่าคุณเป็นโรคพาร์กินสัน พร้อมวิธีป้องกัน

0
4226

อาการบอกว่าคุณเป็นโรคพาร์กินสัน พร้อมวิธีป้องกัน

          โรคเกี่ยวกับสมองเสื่อมที่เรียกว่า พาร์กินสันนั้น มักเป็นที่รู้จักในลักษณะอาการสั่นที่ควบคุมไม่ได้เป็นหลัก ส่วนอาการหรือสาเหตุที่ทำให้เป็น หรือแม้แต่การดูแลผู้ป่วย การป้องกันไม่ให้เกิดโรคพาร์กินสันนั้น ส่วนใหญ่อาจจะยังไม่รู้ ทั้งที่เรื่องนี้ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลย ลองมาทำความรู้จักกันดีกว่า

อาการของโรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสันเกิดจาการทำงานผิดปกติของสมองที่สั่งการอวัยวะให้ทำงาน ดังนั้น คนที่เป็นโรคนี้ จะมีอาการที่มากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ใช่เฉพาะอาการสั่นอย่างที่คนส่วนใหญ่รู้จัก อาการเหล่านั้น คือ

  1. คนไข้มีอาการสั่นตามอวัยวะสำคัญ เช่น แขน ขา มือ รวมถึงใบหน้า
  2. เริ่มมีอาการเกร็งไปทั้งตัว ไม่ใช่เฉพาะแขนขา
  3. ควบคุมการเคลื่อนไหวได้ไม่ดี ช้าลง หรือแม้แต่การทรงตัวก็เสียไป
  4. คนไข้ควบคุมอิริยาบถไม่ค่อยได้ แม้แต่การแกว่งแขนขา การยิ้ม หรือกะพริบตา
  5. ควบคุมจังหวะการพูดได้น้อยลง เสียงเบาลง พูดเสียงสูงต่ำลำบาก
  6. มีปัญหาในเรื่องการกลืนอาหาร

หากไม่รีบเร่งรักษา ปล่อยให้เรื้อรัง คนไข้จะเริ่มช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

สาเหตุของโรคพาร์กินสัน

เกิดจากเซลล์สมองถูกทำลาย ในส่วนของสมองที่ทำหน้าที่ผลิตสารเคมีที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เมื่อขาดสารดังกล่าวจึงทำให้กล้ามเนื้อไม่ทำงานประสานกันเหมือนเดิม เป็นเหตุให้เซลล์ตาย

สาเหตุที่มีส่วนทำให้เป็นโรคพาร์กินสัน เกิดจาก

  1. กรรมพันธุ์ หากคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ โอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้จะมีสูง
  2. มีอนุมูลอิสระสะสมและไปทำลายเซลล์ประสาทส่วนควบคุมประสานการทำงานของกล้ามเนื้อต่างๆ
  3. ร่างกายได้รับพิษสะสม และเป็นพิษที่ทำลายเซลล์ประสาทส่วนควบคุมการทำงานประสานกันเพื่อให้กล้ามเนื้อทำงาน
  4. เกิดขึ้นอย่างไม่สามารถวิเคราะห์หาสาเหตุได้

แนวโน้มของคนที่จะเป็นโรคพาร์กินสัน

  1. เมื่อมีอาการผิดปกติเบื้องต้น การควบคุมแขนขาลำบาก การยิ้ม การกลืนอาหารให้รีบไปพบแพทย์
  2. มีอาการมือไม้สั่น โดยไม่ได้เป็นอะไรอย่างอื่น
  3. ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ เดินๆ จู่ๆ ก็ล้ม
  4. มีอารมณ์ซึมเศร้า และแปรปรวนง่าย
  5. มีปัญหาเรื่องควบคุมการขับถ่ายและปัญหาในการนอน

การป้องกันไม่ให้เป็นโรคพาร์กินสัน

  1. หมั่นตรวจเช็คสุขภาพและตรวจร่างกายประจำปี โดยเฉพาะคนที่มีคนใกล้ชิดเป็นโรคนี้ เพราะอาจจะเป็นจากกรรมพันธุ์
  2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือใช้ยาที่มีส่วนให้สมองทำงานผิดปกติ เช่น การใช้ยาที่อาจจะเป็นพิษ ไม่ว่าจะเป็นยาฆ่าวัชพืชหรือยาฆ่าแมลง
  3. ระวังเรื่องการรับประทานอาหาร เพราะอนุมูลอิสระมีส่วนทำให้เกิดโรคได้
  4. หากขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน โดยเฉพาะในหญิงที่ตัดมดลูก รังไข่ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์