ท้องเสียเกิดจากอะไร พร้อมทั้งวิธีการรักษาเบื้องต้น
อาการท้องเสียดูเหมือนไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ก็ทำลายความสุขสบายในการดำรงชีวิตประจำวันพอสมควร เพราะการที่ต้องถ่ายบ่อยๆ แบบควบคุมไม่ได้ ทำให้อาจทำงานต่อเนื่องไม่ได้ ทางที่ดีควรศึกษาเพื่อป้องกันและรักษาโรคนี้เอาไว้บ้างก็ดี
อาการที่เรียกว่า “ท้องเสีย”
มีอาการดังต่อไปนี้
- ถ่ายเหลวเป็นน้ำเกิน 3 ครั้งในวันเดียว
- มีอาการข้างเคียง เช่น ปวดท้องแบบบิดมวน บางครั้งอาจมีอาการคลื่นไส้ด้วย
- ถ่ายถี่ๆ จนบางครั้งปวดมวน เข้าห้องน้ำแต่ไม่มีอะไรให้ถ่าย
สาเหตุที่ทำให้ท้องเสีย
1. มีการติดเชื้อ ส่วนใหญ่เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารที่กิน แต่อาจจะมีเชื้ออื่นๆ เช่น ไวรัส ซึ่งมักทำให้เด็กมีอาการท้องเสีย หรือรับประทานอาหารค้างคืน
2.ท้องเสียเนื่องจากระบบทางเดินอาหารเริ่มผิดปกติ ทำให้ลำไส้ทำงานผิดปกติ ไม่ดูดซึม
3.เกิดจากปฏิกิริยาต่อต้านยาบางชนิดของร่างกาย
การดูแลเบื้องต้นเมื่อมีอาการท้องเสีย
- งดอาหารชั่วคราว เพื่อให้ร่างกายมีโอกาสขับของเสียออกให้หมด
- ดื่มน้ำสะอาดให้มากขึ้น เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำจากการถ่ายท้อง
- หากอ่อนเพลียมาก ให้ดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อชดเชย
อนึ่ง หากอาการท้องเสียหายภายในวันหรือสองวัน และไม่ปวดท้องต่อไปอีก ก็ใช้ชีวิตกลับคืนสู่วันปกติได้เลย และระวังเรื่องการรับประทานอาหารให้มากขึ้น แต่หากไม่หาย เช่น ถ่าย 3 วันติดต่อกัน หรือมีไข้ขึ้นสูงควบคู่กับอาการท้องเสีย หรือถ่ายแบบมีเลือดเจือปน ควรพบแพทย์เพื่อตรวจอาการ เพราะอาจไม่ใช่เพียงกินอาหารที่มีเชื้อโรคเจือปน แต่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารก็ได้
การดูแลอาการระยะยาว
- สังเกตการณ์รับประทานอาหารของตัวเอง เพราะบางครั้งร่างกายอาจไม่รับอาหารบางอย่าง กินแล้วจะท้องเสียทันที เช่น บางคนแพ้อาหารหมักดอง ฯลฯ
- เน้นเรื่องรับประทานอาหารที่สะอาด ถูกสุขอนามัย ผัก เนื้อ ที่นำมาปรุงต้องสะอาด ปราศจากสิ่งแปลกปลอม โดยเฉพาะหากซื้อจากร้านค้า เพราะอาจมีสิ่งปนเปื้อนอยู่ในนั้น ทั้งสารเคมี ฯลฯ ที่ทำให้ท้องเสียได้
- นอกจากความสะอาดของอาหารแล้ว ความสะอาดของร่างกาย มือที่สัมผัสอาหารเป็นต้น ต้องให้สะอาดอยู่เสมอ ยิ่งกับเด็กเล็กต้องระวังเป็นพิเศษ อาหาร ภาชนะใส่อาหาร คนดูแล มีโอกาสแพร่เชื้อโรคให้เด็กได้ทั้งนั้น
- แม้แต่น้ำดื่มก็เป็นที่มาของอาการท้องเสียได้ ให้ดื่มน้ำสะอาด หรือจำเป็นต้องดื่มน้ำนอกบ้าน สังเกตภาชนะที่ใส่ด้วย
- อาการปรุงร้อนๆ และใหม่เสมอ เป็นทางป้องกันเชื้อโรคปนเปื้อนได้ระดับหนึ่ง
- กินอาหารที่มีไฟเบอร์สูง เพื่อช่วยให้ระบบขับถ่ายสมดุล
หากมีอาการท้องผูก ท้องอืด ท้องเสีย สลับกันบ่อยๆ อย่าดูเบาเพราะคิดว่าไม่เป็นอะไร เดี๋ยวก็หาย เพราะบางครั้งอาการเริ่มต้นของโรคร้ายมาจากการเจ็บป่วยพื้นฐานก็มี